วาทะจิตวิทยา
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี (Case study)
การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การศึกษาเป็นรายกรณี
เป็นกระบวนการศึกษาบุคคลอย่างละเอียดต่อเนื่อง โดยใช้เทคนิคหลายๆ อย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูล
และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวินิจฉัยปัญหาเพื่อทำความเข้าใจถึงสาเหตุหรือที่มาของ
สิ่งที่ศึกษา อันจะนำไปสู่การดำเนินการหรือการให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการให้ความช่วยเหลือ แก้ไข ป้องกันปัญหาหรือส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลต่อไป
เป็นการศึกษาพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยมรจุดมุ่งหมาย 3 ประการ
1. การส่งเสริมพฤติกรรมที่มีลักษณ์เชิงบวกในตัวบุคคลให้พัฒนางอกงามยิ่งขึ้น
2. ป้องกันมิให้เกิดพฤติกรรมในเชิงลบเกิดขึ้นในตัวบุคคล
3. การแก้ไขหรือลบพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาในตัวบุคคล
การรวบรวมข้อมูล มีวิธีการรวบรวมข้อมูลได้จากแหล่งต่างๆ
1. เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง
1.1 แบบสอบถาม
1.2 แบบสัมภาษณ์
1.3 แบบสังเกต
1.4 แบบทดสอบ
1.5 จากการศึกษาผลงานของผู้ถูกศึกษา
2. เก็บข้อมูลจากเพื่อนๆ
2.1 การสัมภาษณ์เพื่อน
2.2 การใช้สังคมมิติ
2.3 การใช้แบบสอบถามใคร
3. เก็บจากผู้ปกครอง
3.1 การสัมภาษณ์ผู้ปกครอง
3.2 การใช้แบบสอบถามสำหรับผู้ปกครอง
3.3 การเยี่ยมบ้านผู้ปกครอง
การศึกษารายกรณีได้เข้ามามีบทบาทต่อการให้ความช่วยเหลือทางการแนะแนว ในฐานะที่
เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีระบบ ระเบียบ และขั้นตอนที่ทำให้วิธีการดังกล่าวเป็นที่ยอมรับ
และน่าเชื่อถือได้กว้างขวาง ไม่เพียงแต่จะจำกัดในศาสตร์แห่งการแนะแนวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบรรดาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือทั้งหมด ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า ศาสตร์แห่งพฤติกรรม อันมีหลักเกี่ยวกับความเป็นไปและธรรมชาติของพฤติกรรมของมนุษย์ ทั้งนี้รวมถึงการจัดการเกี่ยวข้องเกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ด้วย หากแต่ว่าธรรมชาติของศาสตร์แห่งพฤติกรรมนี้มีความกว้างขวางในมิติของเนื้อหาที่จะเรียนรู้มาก จึงมักจะมีการแยกและจำกัดเนื้อหาออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาในรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น เช่น การแนะแนว การสงเคราะห์ จิตวิทยาคลินิก จิตเวชศาสตร์ เป็นต้น
ดาวน์โหลดตัวอย่างแบบวิจัย คลิกที่นี่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีระบบ ระเบียบ และขั้นตอนที่ทำให้วิธีการดังกล่าวเป็นที่ยอมรับ
และน่าเชื่อถือได้กว้างขวาง ไม่เพียงแต่จะจำกัดในศาสตร์แห่งการแนะแนวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบรรดาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือทั้งหมด ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า ศาสตร์แห่งพฤติกรรม อันมีหลักเกี่ยวกับความเป็นไปและธรรมชาติของพฤติกรรมของมนุษย์ ทั้งนี้รวมถึงการจัดการเกี่ยวข้องเกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ด้วย หากแต่ว่าธรรมชาติของศาสตร์แห่งพฤติกรรมนี้มีความกว้างขวางในมิติของเนื้อหาที่จะเรียนรู้มาก จึงมักจะมีการแยกและจำกัดเนื้อหาออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาในรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น เช่น การแนะแนว การสงเคราะห์ จิตวิทยาคลินิก จิตเวชศาสตร์ เป็นต้น
ดาวน์โหลดตัวอย่างแบบวิจัยบทที่ 3 คลิกที่นี่
ความจริงที่เกิดขึ้นในโลกนั้นจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับว่าเรารับรู้ว่ามันเป็นอย่างไร ซึ่งนั่นก็ยังขึ้นอยู่ว่าเรามีทัศนคติต่อสิ่งนั้นๆ อย่างไร เราก็จะเลือกรับรู้มันอย่างนั้น จะเปลี่ยนแปลงอะไรก็อยากเหลือเกิน จนบางครั้งเราก็คิดไปเองว่าโลกนี้มันอยู่อยากเหลือเกิน เราลองมาเปลี่ยนมุมคิด ลองเลิกเป็นตัวเองสักพัก แล้วเอามุมมองการคิดแบบใหม่ที่ไมใช่เรามองสิ่งนั้นๆ อีกครั้ง เราอาจจะได้แง่มุมใหม่ หรือแนวทางความคิดใหม่ๆ ที่จะทำให้เราเห็นว่าที่โลกมันไม่สวยงามนั้น ก็เพราะเรามัวแต่ไปจ้องจุดที่หม่นมัวอยู่ ส่วนที่สวยงามนั้นเราเองต่างหากที่ไม่ได้มอง
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเลย....
tel.088-3864692
E-mail - m_azha321@hotmail.com
facebook azha arlee
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)